กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาให้หายได้หรือไม่

กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาให้หายได้หรือไม่

    หลายคนคงจะเคยได้ยินนะครับว่า โรคกระดูกสันหลังเสื่อมเกิดตอนอายุมากรักษายังไงก็ไม่หาย ให้ทำใจ แต่จริง ๆ โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อายุ 30 กว่า ๆ โดยที่อาการที่เกิดจากโรคนี้เราสามารถบรรเทาให้ลดลงได้และชะลอไม่ให้โรคนี้เป็นมากขึ้นได้นะครับ โดยไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัด

    หมอนรองกระดูกสันหลังซึ่งเป็นส่วนประกอบของโครงร่างกระดูกสันหลังจะเริ่มเสื่อมตั้งแต่อายุ 20 กว่า ๆ และเสื่อมไปเรื่อย ๆ ขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละบุคคล โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงานอายุ 30 – 40 ปี โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดคือ น้ำหนักตัวมาก ทำงานที่ต้องนั่งหรือยืนนาน ๆ ทำงานที่ต้องแบกของหนัก สูบบุหรี่มาก นอกจากนั้นในผู้ที่อายุมากขึ้นกระดูกสันหลังที่เสื่อมลง จะมีการงอกเนื่องจากมีแคลเซียมมาเกาะ จนบางครั้งหมอนรองกระดูกที่ยุบตัวลง หรือกระดูกที่งอกเกิดการทับเส้นประสาททำให้เกิดอาการปวดหลัง ได้นะครับ

    โรคกระดูกสันหลังเสื่อม อาจจะไม่ทำให้เกิดอาการก็ได้ หรืออาจจะทำให้เกิดอาการปวดหลัง หากมีการกดทับของเส้นประสาทก็อาจทำให้เกิดอาการปวดร้างลงขา อ่อนแรง ชาขา เดินได้ไม่ไกล นั่งนาน ๆ ไม่ได้ หรือขับรถนาน ๆ ไม่ได้ครับ

วิธีรักษา

    จะต้องเริ่มจาก หยุดทำงานหนัก หยุดยกของหนัก พยายามลดน้ำหนัก หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องก้ม ๆ เงย ๆ มาก ๆ ครับ ทานยาจำพวกลดอาการอักเสบ แก้ปวดเท่าที่จำเป็น ยาแก้ปวดปลายประสาท ยาบำรุงกระดูกหมอนรองกระดูก บริหารยืดเส้น และการรักษาอีก 1 วิธีก็คือ การฉีดยาเข้าโพรงประสาทหลังเพื่อขยายโพรงประสาท ลดอาการอักเสบของเส้นประสาท วิธีนี้ได้ผลดีถึงดีมาก ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง ร้าวลงสะโพกหรือลงขา โดยจะบรรเทาอาการปวดอย่างรวดเร็วครับ โดยอาจจะต้องฉีดต่อเนื่องประมาณ 2-3 เข็มครับ ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการกดทับเส้นประสาทอย่างรุนแรงจนปัสสาวะอุจจาระไม่ได้หรืออ่อนแรงจนเดินไม่ได้ หรือไม่ตอบสนองต่อการฉีดยา ถึงจะมีความจำเป็นจะต้องผ่าตัดนะครับ

    โดยโอกาสที่จะต้องผ่าตัดมีน้อยมากเลยครับในตำราแพทย์บางเล่มเขียนไว้ว่าน้อยกว่า 10% ของผู้ป่วยปวดหลังครับที่จำเป็นต้องผ่าตัด

อ.นพ.กสิสิน กลั่นกลิ่น

11 thoughts on “กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาให้หายได้หรือไม่”

  1. A, B ERО±, ERОІ and PR protein levels was assayed by western blot on EO771 cells representative of 3 experiments and normalized to the actin protein levels in presence of estradiol Low 1 priligy precio Furthermore, because nearly all cases of IVCS occur on the left, only subjects with unilateral left sided DVT were included

  2. Six weeks after starting isotretinoin for the treatment of acne, this patient with increased intracranial hypertension presented with bilateral optic disc edema how to buy priligy in usa 1 which method would you go with, the first or the second 2 Do I need to add DHEA to the mix, and if so can I just get the bulk powder

  3. The information document that we tried to establish concerning breastfeeding after partial mastectomy, augmentation and reduction mammaplasty, may compensate patients lack of information and sums up all the complications described in our study and in the literature priligy india

Leave a Comment

ไขปัญหาข้องใจ “โรคกระดูกและข้อ”

กับหมอกสิสิน

นพ.กสิสิน กลั่นกลิ่น
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (สวนดอก)

อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ ประจำภาควิชาออร์โทปิดิกส์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาให้หายได้หรือไม่

กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาให้หายได้หรือไม่

    หลายคนคงจะเคยได้ยินนะครับว่า โรคกระดูกสันหลังเสื่อมเกิดตอนอายุมากรักษายังไงก็ไม่หาย ให้ทำใจ แต่จริง ๆ โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อายุ 30 กว่า ๆ โดยที่อาการที่เกิดจากโรคนี้เราสามารถบรรเทาให้ลดลงได้และชะลอไม่ให้โรคนี้เป็นมากขึ้นได้นะครับ โดยไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัด

    หมอนรองกระดูกสันหลังซึ่งเป็นส่วนประกอบของโครงร่างกระดูกสันหลังจะเริ่มเสื่อมตั้งแต่อายุ 20 กว่า ๆ และเสื่อมไปเรื่อย ๆ ขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละบุคคล โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงานอายุ 30 – 40 ปี โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดคือ น้ำหนักตัวมาก ทำงานที่ต้องนั่งหรือยืนนาน ๆ ทำงานที่ต้องแบกของหนัก สูบบุหรี่มาก นอกจากนั้นในผู้ที่อายุมากขึ้นกระดูกสันหลังที่เสื่อมลง จะมีการงอกเนื่องจากมีแคลเซียมมาเกาะ จนบางครั้งหมอนรองกระดูกที่ยุบตัวลง หรือกระดูกที่งอกเกิดการทับเส้นประสาททำให้เกิดอาการปวดหลัง ได้นะครับ

    โรคกระดูกสันหลังเสื่อม อาจจะไม่ทำให้เกิดอาการก็ได้ หรืออาจจะทำให้เกิดอาการปวดหลัง หากมีการกดทับของเส้นประสาทก็อาจทำให้เกิดอาการปวดร้างลงขา อ่อนแรง ชาขา เดินได้ไม่ไกล นั่งนาน ๆ ไม่ได้ หรือขับรถนาน ๆ ไม่ได้ครับ

วิธีรักษา

    จะต้องเริ่มจาก หยุดทำงานหนัก หยุดยกของหนัก พยายามลดน้ำหนัก หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องก้ม ๆ เงย ๆ มาก ๆ ครับ ทานยาจำพวกลดอาการอักเสบ แก้ปวดเท่าที่จำเป็น ยาแก้ปวดปลายประสาท ยาบำรุงกระดูกหมอนรองกระดูก บริหารยืดเส้น และการรักษาอีก 1 วิธีก็คือ การฉีดยาเข้าโพรงประสาทหลังเพื่อขยายโพรงประสาท ลดอาการอักเสบของเส้นประสาท วิธีนี้ได้ผลดีถึงดีมาก ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง ร้าวลงสะโพกหรือลงขา โดยจะบรรเทาอาการปวดอย่างรวดเร็วครับ โดยอาจจะต้องฉีดต่อเนื่องประมาณ 2-3 เข็มครับ ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการกดทับเส้นประสาทอย่างรุนแรงจนปัสสาวะอุจจาระไม่ได้หรืออ่อนแรงจนเดินไม่ได้ หรือไม่ตอบสนองต่อการฉีดยา ถึงจะมีความจำเป็นจะต้องผ่าตัดนะครับ

    โดยโอกาสที่จะต้องผ่าตัดมีน้อยมากเลยครับในตำราแพทย์บางเล่มเขียนไว้ว่าน้อยกว่า 10% ของผู้ป่วยปวดหลังครับที่จำเป็นต้องผ่าตัด

อ.นพ.กสิสิน กลั่นกลิ่น

11 thoughts on “กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาให้หายได้หรือไม่”

  1. A, B ERО±, ERОІ and PR protein levels was assayed by western blot on EO771 cells representative of 3 experiments and normalized to the actin protein levels in presence of estradiol Low 1 priligy precio Furthermore, because nearly all cases of IVCS occur on the left, only subjects with unilateral left sided DVT were included

  2. Six weeks after starting isotretinoin for the treatment of acne, this patient with increased intracranial hypertension presented with bilateral optic disc edema how to buy priligy in usa 1 which method would you go with, the first or the second 2 Do I need to add DHEA to the mix, and if so can I just get the bulk powder

  3. The information document that we tried to establish concerning breastfeeding after partial mastectomy, augmentation and reduction mammaplasty, may compensate patients lack of information and sums up all the complications described in our study and in the literature priligy india

Leave a Comment

slide3-mobile

ไขปัญหาข้องใจ “โรคกระดูกและข้อ”

กับหมอกสิสิน

นพ.กสิสิน กลั่นกลิ่น
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (สวนดอก)

อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ ประจำภาควิชาออร์โทปิดิกส์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่